huaiyap_lp@hotmail.com 053-984159-60 ต่อ 11 สำนักปลัดฯ

Q&A


Q : สามารถติดต่อ อบต.ห้วยยาบ ได้ทางไหนบ้าง
A : โทรศัพท์/โทรสาร : 053-984-159 ต่อ 11 เลยครับ ^^
Facebook : องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ ลำพูน หรือ งานประชาสัมพันธ์ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ 
E-mail : Huaiyap_lp@hotmail.com

Q : วิสัยทัศน์ ของ อบต.ห้วยยาบ คืออะไร
A : “ สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  ด้วยความเสมอภาค  เป็นธรรม  และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ”

Q : มาจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องมีหลักฐานอะไรบ้าง
A : เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่
1. คําขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
2. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
3. สําเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
4. กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่
4.2 สําเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสําเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
4.3 แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจและสถานที่สําคัญบริเวณ ใกล้เคียงโดยสังเขป
5. หนังสือมอบอํานาจ (ถ้ามี)
6. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้รับมอบอํานาจ (ถ้ามี)
7. กรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่น วีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ให้ส่งสําเนาหนังสืออนุญาต หรือ หนังสือรับรองให้เป็นผู้จําหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของสินค้าที่ขายหรือ ให้เช่า หรือ สําเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขายจากต่างประเทศ
8. กรณีประกอบพาณิชยกิจการคมาอัญมณี หรือ เครื่องประดับซึ่งประดับด้วย อัญมณี ให้ตรวจสอบและเรียกหลักฐานแสดงจํานวนเงินทุน โดยเชิญผู้ประกอบพาณิชยกิจมาให้ข้อเท็จจริงของแหล่งที่มาของเงินทุน หรือชี้แจงเป็นหนังสือพร้อมแนบหลักฐานดังกล่าวแทนก็ได้

Q : อบต.ห้วยยาบ มีบทบาท ภารกิจ อะไรบ้าง
A : มีบทบาทดังนี้

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ พ.ศ ๒๕๖๐- ๒๕๖๕ เป็นการดำเนินการภายใต้สถานการณ์และความเสี่ยงซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในจังหวัดและภายในประเทศ โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับประเทศ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทิศทางการบริหารจัดการตำบลห้วยยาบ จึงมุ่งเน้น 

๑.  มุ่งปรับปรุงบริการพื้นฐาน  เพื่อการผลิตทางการเกษตรให้ทั่วถึง  เพิ่มผลผลิตโดยการเพิ่มความรู้ให้เกษตรกรและการใช้เทคโนโลยีการผลิต  พัฒนาสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูง  และมีโอกาสทางการตลาดที่ดี  และมีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร  รวมทั้งการพัฒนามูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง  โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  (Creative  Economy)

๒.  ยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว  การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว  การตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

๓.  พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อความเป็นอยู่ของประชาชน  เสริมสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข  ชุมชนเข้มแข็ง  สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง  สร้างเศรษฐกิจระดับชุมชน  ผลิตภัณฑ์ชุมชน  พัฒนาคน  ให้มีความรู้คุณธรรม  เน้นการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล

๔.  เฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม  ยาเสพติด  ภัยพิบัติ  และคนงานต่างด้าว

ขณะเดียวกันจำเป็นต้องปรับตัวในการเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจระดับจังหวัด ภูมิภาค และระดับประเทศ   การเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งที่ต้องก้าวไปพร้อมกับการยกระดับคุณภาพคน การเสริมสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตำบลห้วยยาบ


Q : คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
A : ตอบคำถาม
1. สัญชาติไทย
2. มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยการลงทะเบียนปี 2563 ต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2503 (ผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ)
3. ต้องไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญเบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในผู้สถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กกปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายงได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ

Q : พาณิชยกิจใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่
A : ตอบคำถาม
1. การค้าแร่ การค้างแผงลอย
2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
6. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515